top of page

PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองส่วนบุคคล

PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองส่วนบุคคล คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อ 27 พฤษภาคม 2562 โดยระบุให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐ ต้องไม่นำเอาข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ที่เราไม่ยินยอม

 

  • เพื่อไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว

  • เพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลในกรณีที่ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลส่วนบุุคตล

         ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้น ได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม เช่น รูปกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวหนังสือรูปภาพหรือเสียง โดยครอบคลุมตั้งแต่ ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล์ นอกจากนี้กฎหมายยังคุ้มครองไปถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความเห็นทางการเมือง ความเชื่อ ลัทธิ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลทางด้านสุขภาพ ข้อมูลทางพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ Cookies ID EMEI หรือ Device ID ที่สามารถเชื่อมต่อ Server ได้เพื่อระบุตัวอุปกรณ์แม้ไม่เปิดเผยชื่อ – นามสกุลผู้ใช้เลยก็ตาม

 

เอกชนและภาครัฐ (บุคคลหรือนิติบุคคล) รวมไปถึงนิติบุคคลที่จัดตั้งในต่างประเทศ ซึ่งทำการเก็บรวมรวม ใช้ เปิดเผยและหรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลในประเทศไทย

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) คือ ข้อมูลส่วนบบุคคลที่สามารถเชื่อมโยงถึงบุคคลที่มีชีวิต ที่สามารถระบุตัวตนได้ บุคคลดังกล่าวเรียกว่า เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ “ตัดสินใจ” เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล “ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าว ต้องไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

  • โทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และหรือ ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท

  • โทษทางแพ่ง จ่ายค่าสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของค่าสินไหมที่แท้จริง

  • โทษทางปกครองปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท

สิ่งที่องค์กรต้องเตรียมพร้อมกับ พระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล คือ ทำ Privacy policy และ บันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคลโดยต้องจัดให้มีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลียนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจโดยมิชอบ เช่น 

  • มีนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policies)

  • มีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย (Consent Management)

  • มีการประเมินความเสี่ยงของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Risk Assessment)

ดังนั้นการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในองค์กรและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับดังต่อไปนี้

  • การกำกับดูแลของกรรมการและผู้บริหารและการมีส่วนร่วมของบุคคลในองค์กร

  • การออกแบบกระบวนการที่มีการสอดแทรกมาตรการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงาน การฝ่าฝืนนโยบาย และมาตรการที่กำหนดไว้ รวมถึงการวิเคราะห์ ตรวจสอบ ค้นหาและตอบสนองต่อภัยคุกคามจากภายนอก

ทางบริษัท บิสเน็ตเวิร์ค จำกัด มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถเข้ามาช่วยองค์กรในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและปฎิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564

bottom of page