top of page

Hyper-Converged Infrastructure

Hyper Converged (ไฮเปอร์ คันเวอ) คือ เทคโนโลยีที่เอาซอฟต์แวร์มาช่วยในการจัดการกับเซิร์ฟเวอร์หลายๆตัวโดยจะเอาตัวเซิร์ฟเวอร์มา Pool (พูล) รวมกันแล้วบริหารทั้งระบบเสมือนเป็นเพียงเซิร์ฟเวอร์ใหญ่ๆ เพียงเซิร์ฟเวอร์เดียว เมื่อระบบทำงานได้ไม่เพียงพอหรือระบบล่มบ่อยๆก็สามารถแก้ไขได้โดยการเติมตัวเซิร์ฟเวอร์เพิ่มเข้าไปในระบบ และเมื่อมีเซิร์ฟเวอร์ตัวใดตัวนึงมีปัญหาหรือเสียก็จะมีตัวเซิร์ฟเวอร์อีกตัวมาทำงานแทนโดยอัติโนมัติ

ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักจะพบเจอ กับการใช้ ระบบ Traditional Infrastructure แบบเดิม

หลายๆ ท่าน ที่ยังคงใช้ระบบ IT Infra แบบเดิม คือใช้ Server ต่อกับ Shared Storage (SAN/NAS/Unified) ผ่าน SAN switch คงทราบดี เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับการใช้งานระบบแบบนี้ ซึ่งทาง Onestopware เองก็ได้รับฟังปัญหาจากลูกค้า และเป็นเรื่องที่แปลกมากที่พบว่า ทุกๆ ที่จะประสบปัญหาที่คล้ายคลึงกัน  ฉะนั้น เราจึงขอแยกปัญหาที่ลูกค้ามักจะพบเจอออกเป็น 3 เรื่องหลักๆ ดังนี้

Cost & Complexity

ปัญหาค่าใช้จ่ายและใช้เวลามาก ในเรื่องการจัดซื้อ Server + Storage ที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน ทั้งในเรื่องของการคำนวณ Capacity , Performance IOPs, การทำ Solution Design, การขยายระบบ (scaling) รวมไปถึงความยาก และค่าใช้จ่ายในการ Maintenance ระบบที่สูง

IT Working in Silos

นื่องจากระบบ Infra แบบเดิมจะแยก Server, Storage และ Network ออกจากกัน นั่นทำให้ทีม IT ในบางที่จะต้องแบ่งออกเป็น 3 ทีม ทีนี้ ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น ยกตัวอย่างเช่น “ทรัพยากรระบบ ไม่เพียงพอกับงานที่รองรับ” ซึ่งอาจจะเป็นที่ Server Performance ไม่ถึง , Storage IOPs  ไม่เพียงพอ หรืออาจจะเกิดคอขวดที่ระบบ Network เกิดความยุ่งเหยิงในการช่วยกันแก้ไขปัญหา ซึ่งผลกระทบต่อมาก็คือ งาน Production ที่ลูกค้า Run อยู่อาจจะเกิดการหยุดชะงักและทำให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง

No Time for Innovation

ทางเราทราบดีกว่า IT Admin ในยุคปัจจุบัน ต้องแบบรับกับภาระปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่อง IT ขององค์กรไม่เว้นแต่ละวัน จนไม่สามารถกระดิกตัวไปทำเรื่องอื่นๆ และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทีม IT หลายๆ ที่ ก็เองไม่สามารถที่จะอธิบายให้กับผู้บริหารเข้าใจได้ ส่วนของผู้บริหารเองก็มองว่า ทีม IT จะต้องแก้ไขปัญหาและรองรับงานที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดได้เท่านั้น แต่! นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของ ทีม IT ในยุคนี้ที่จะทำได้ เพราะในตลาดธุรกิจหลายๆ ที่ในต่างประเทศเองก็มองว่า แท้จริงแล้ว ระบบไอทีหลังบ้านนี่แหละ ที่เป็นฟันเฟืองของระบบงานทั้งหมด ซึ่งสามารถ “พัฒนา” เรื่องของไอทีและธุรกิจไปพร้อมๆ กัน เพื่อขับเคลื่อนให้องค์กรมีความก้าวหน้า รวดเร็ว ยืดหยุ่น และเป็นเหนือคู่แข่งอยู่เสมอได้

VMware_HCI-vSan.png
patent-infographic-nutanix.jpg

แนวคิดของ Nutanix คือการรวม Server และ Storage เอาไว้ใน Appliance ชุดเดียวกัน เพื่อให้สามารถทำงานรองรับ Virtualization และ Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขยายระบบเพิ่มขึ้นได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยไม่ต้องทำการ Configuration ใดๆ ให้ซับซ้อน

โดยในส่วนของ CPU นั้นก็เป็น Intel Xeon 48 Cores ตามมาตรฐาน แบ่งเป็น 4 Physical Server ใน Appliance เพียงชุดเดียว ทำให้เมื่อเกิดกรณี Failure ได้ยากขึ้นถึง 400%

ในขณะที่ระบบ Storage ภายในจะเป็นการทำ Automatic Storage Tiering ร่วมกันระหว่าง Fusion-io, Solid State Drives (SSD) และ Hard Disk Drives ทำให้ Nutanix 1 ชุดมีประสิทธิภาพสูงมากในระดับของ Fusion-io/SSD พร้อมพื้นที่ในระดับของ SATA HDD ซึ่งจัดได้ว่ามีความเร็วสูงกว่า SAN Storage ทั่วไป 20 – 100 เท่า และสามารถสร้าง Image ของ Server / Virtual Desktop Infrastructure (VDI) ได้ 40 – 400 ชุดต่อ 1 Appliance เลยทีเดียว พร้อมทั้งรองรับความสามารถในการทำ vMotion, High Availability และ Disaster Recovery ของ VMware ทั้งหมดอีกด้วย

และเมื่อ Resource ต่างๆ ถูกนำไป Virtualize หรือใช้ใน Cloud จนหมดแล้ว เรายังสามารถทำการเพิ่ม Appliance ลงไปในระบบได้ในลักษณะ Scale-Out ทำให้ในระบบมี CPU Cores, Memory และ Capacity มากขึ้น โดย Appliance ทุกชุดสามารถมองเห็น Storage ชุดเดียวกันได้ทั้งหมด และสามารถบริหารจัดการรวมกันจากศูนย์กลางได้ ส่งผลให้เมื่อมี Appliance ใดหยุดทำงาน ข้อมูลที่มีอยู่ก็จะยังคงไม่สูญหาย และสามารถนำมาใช้รันบนระบบ VMware ต่อไปได้ทันที ซึ่งเทคโนโลยีนี้ Nutanix เรียกว่า Nutanix Scale-Out Converged Storage (SOCS)

เปรียบเทียบกับแนวคิดแบบดั้งเดิม คือการเชื่อมต่อ Server หลายๆ เครื่องเข้ากับ SAN Storage เพียงชุดเดียว ทำให้คอขวดเกิดขึ้นที่ประสิทธิภาพและการขยายต่อของ SAN Storage ซึ่งทำให้การลงทุนค่อนข้างสูง, เปลืองพื้นที่บน Rack และมีความซับซ้อนในระบบสูง ในขณะที่ Nutanix เองได้นำเสนอ Architecture แบบเดียวกับ Data Center ของ Google, Facebook และ Amazon ทำให้การบริหารจัดการกลายเป็นเรื่องง่าย ในขณะที่ยังคงความมีประสิทธิภาพของระบบเอาไว้ได้ ซึ่งเป็นแนวคิดของการทำ Cloud อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องใช้ SAN หรือ NAS อีกต่อไป

bottom of page